เป็นคำถามที่ทางท่านสมาชิกหรือบุคคลทั่วไป ได้ซักถามเข้ามากันมาก ทางทีมงานจึงได้เก็บรวบรวมให้ทางท่านสมาชิกได้อ่าน หากท่านสมาชิก มีคำถามเพิ่มเติมหรือข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่นี่ 02-704-9555 หรือผ่านทาง webboard , Facebook
คำว่า " Paperless "... คืออะไร? |
ระบบ Paperless ของศุลกากร
ระบบ Paperless เป็นระบบที่กรมศุลกากรประกาศให้มีการใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 เพื่่อให้การดำเนินการพิธีศุลกากรเป็นไปแบบไร้เอกสารโดยเริ่มต้นใช้กับใบขนสินค้าขาออกและใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ส่วนใบขนขาเข้ายังคงให้เดินพิธีการศุลกากรด้วยระบบ EDI ตามเดิม โดยโครงการ Paperless นี้ นอกจากจะใช้สำหรับการทำใบขนขาออกและขาเข้าแล้ว ยังครอบคลุมการดำเนินการพิธีการอย่างอื่นด้วย อาทิ
-การส่งข้อมูลใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ซึ่ง upgrade มาจาก E-Container ที่เคยอยู่บนระบบ EDI
-การส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า (E-Manifest)
-การส่งข้อมูลการชำระภาษีขาเข้า (E-Payment)
กลุ่มผู้ใช้งาน
-ผู้ส่งออก
-ตัวแทนส่งออก Shipping,Customs Broker
-ผู้ให้บริการคีย์ใบขน (Service Counter)
ประโยชน์จากการใช้ระบบ Paperless
-ลดเอกสารที่ใช้ในการเดินพิธีการศุลกากร เช่น ใบแนบต่างๆ
-เตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ระบบอื่นๆ ได้ง่าย เพราะระบบใบขน Paperless เป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมอื่น ๆ ที่จะต้องใช้ร่วมกัน
-ลดเวลาและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบ เพราะสามารถลงลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปยังกรมศุลกากรได้ หรือกรณีที่ตัวแทนไม่ต้องการจะลงลายเซ็น ก็สามารถส่งข้อมูลใบขนไปให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
-ข้อมูลมีความปลอดภัยมากกว่าระบบเดิม เนื่องจากก่อนส่งข้อมูลทุกครั้งจะต้องมีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก่อน และข้อมูลจะถูกเข้ารหัส จะมีเพียงกรมศุลกากรที่เดียวเท่านั้นที่สามารถเปิดข้อมูลนั้นอ่านได้
แบบไม่มีราคาประกันขั้นต่ำ...คืออะไร |
คือ ตลาดการค้าโดยเสรีซึ่ง“กลไกราคา” มีโอกาสได้ทำหน้าที่อย่างอิสระ ย่อมจะยังประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้ซื้อก็จะได้สินค้าที่พอใจในราคาที่ต่ำที่สุด ขณะที่ทุก ๆคนนั้นสามารถที่จะทำในสิ่งที่แต่ละคนมีความถนัด
ผู้ส่งเครื่องจักรควรจัดส่งเครื่องจักรอะไร? สภาพอย่างไร? จำนวนเท่าใด? และเพื่อใคร? ส่วนผู้จัดการประมูลก็จะดำเนินวิธีการด้วยความยุติธรรมและโปร่งใส
มีการคิดค่าธรรมเนียมผู้ที่ไปศึกษาสังเกตการณ์หรือไม่? |
ไม่มีการเรียกค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายหรือเงื่อนไขใด ๆ สำหรับผู้ไปเยี่ยมชมสังเกตการณ์งานประมูล
มีการสมยอม (ฮั้ว) เรื่องราคาประมูลกันหรือไม่? |
การสมยอมราคาจะกระทำได้ในคนกลุ่มเล็ก และต้องเตรียมการล่วงหน้า งานประมูลของบริษัทมีคนมาร่วมงานครั้งละไม่ต่ำกว่า 500 คนขึ้นไปซึ่งมาจากหลากหลายอาชีพ และสินค้าทุกรายการใช้เวลานากรประมูลขายเฉลี่ยเพียง 1-1.30 นาทีต่อรายการเท่านั้น
ทำไมต้องมีการวางเงินประกัน? |
เพราะต้องการป้องกันไม่ให้คนที่ไม่ประสงค์ดีมายกบัตรประมูลจนชนะ แต่มีเจตนาไม่รับผิดชอบการชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการทำลายโอกาสและสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่ตั้งใจมาประมูลอย่างจริงจัง
เงินวางประกันจะได้รับคืนเมื่อไหร่? |
- ถ้าลงทะเบียนแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะประมูลแข่งขันหรือประมูลไม่ได้: สามารถขอรับเงินประกันคืนได้ทันทีภายในวันนั้นหรือหลังงานประมูล
- ถ้าประมูลสินค้าได้ก็ให้ถือเป็นการชำระค่าสินค้า
- ถ้าเงินประกันมากกว่ามูลค่าสินค้าก็ขอรับส่วนต่างเป็นเงินทอนคืนได้ทันทีเช่นกัน
- ถ้าเงินประกันน้อยกว่ามูลค่าสินค้าก็สามารถชำระส่วนต่างได้ภายใน 7 วัน หลังจากงานประมูล
สินค้าที่จัดประมูลทั้งหมด ขายหมดหรือไม่? |
สินค้าที่จัดประมูลทุกครั้งจำนวนเฉลี่ย 2,000-2,500 รายการต่อครั้ง จะต้องทำการประมูลขายให้หมดทุกรายการทุกครั้ง ไม่ให้มีเหลือ(ไม่คำนึงถึงเรื่องราคา) เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้จัดประมูล โดยยึดหลักการประมูลขายที่ปราศจากการตั้งราคา
เครื่องจักรมาจากไหน...ในหรือนอก? |
ส่วนใหญ่ 70 -80 % มาจากนอก แหล่งใหญ่ที่สุดคือ ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อประมูลซื้อไปใช้แล้ว ในอนาคตจะนำมาขาย และซื้อรุ่นใหม่ได้หรือไม่? |
ได้... เพราะบริษัททำหน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อ – ขาย ที่โปร่งใสชัดเจน เป็นธรรม ท่านสามารถส่งสินค้ามาร่วมงานประมูลได้ทุกเดือน ตามวัน เวลาที่ผู้จัดกำหนดขึ้น
เจเอสเอสอาร์ อ๊อกชั่น ทำธุรกิจประเภทนี้ มานานแค่ไหน? |
เจเอสเอสอาร์ ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับแทรกเตอร์มากว่า 40 ปีแล้ว มีสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าทั้งภายในและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่ยอมรับเชื่อถือส่งเสริมสนับสนุนให้เป็น... ผู้จัดงานประมูลเครื่องจักรมือ 2 ที่ยิ่งใหญ่ และอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จวบจนปัจจุบัน